วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 เมื่อเวลา09.00น. นายอร่าม อาจทนา นายก อบต.โนนสะอาด อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น นำทีมผู้บริหาร หัวหน้าส่วน ข้าราชการและกรรมการธนาคารขยะ อบต.โนนสะอาด กว่า 50 คน เดินทางไปศึกษาดูงานธนาคารขยะและการจัดการบริหารขนะที่ อบต.โพนแพง อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย โดยมี นายถวิล ไชยรัตน์ นายก อบต.โพนแพง พร้อมคณะผู้บริหารข้าราชการในสังกัด ผู้นำชุมชน และกรรมการธนาคารขยะตำบลโพนแพง
ด้วย อบต.โนนสะอาด อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงานการบริหารจัดการธนาคารขยะ ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมให้ ผู้บริหาร กรรมการบริหารธนาคารขยะชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ผู้แทนสมาชิกธนาคาขยะและผู้สังเกตการณ์ ได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ การบริหารจัดการขยะในชุมชนจากหน่วยงานต้นแบบ และสามารถนำความรู้แนวคิดต่างๆ มาประยุคใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดกับองค์กรและชุมชนอบต.โพนแพง จัดการขยะในชุมชน ใช้หลัก 3Rs ใช้น้อย Reduce ใช้ช้ำ Reuse นำกลับมาใช้ใหม่ Recycle โดยเฉลี่ยคนไทย 1 คน สร้างขยะประมาณ 1.14 กิโลกรัม วันต่อ ซึ่งมีสัดส่วนของขยะแต่ละประเภท ขยะอินทรีย์ 64% ขยะทั่วไป 3% ขยะรีไซเคิล 30% ชยะอันตราย 3% แนวทางในการดำเนินงานในการจัดตั้งกองทุนธนาคารขยะ ประกอบด้วย แต่งตั้งคณะกรรมการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ,ขออนุมัติจัดและดำเนินโครงการส่งเสริมสนับสนุนธนาคารขยะ ,ประชุมคณะกรรมการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเพื่อแจ้งการดำเนินโครงการส่งเสริมสนับสนุนธนาคารขยะชุมชนและกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อจัดทำระเบียบธนาคารขยะ ,แต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบการเงินและบัญชีธนาคารขยะชุมชน และแต่งตั้งอนุกรรมการการดำเนินงานตามครงการส่งเสริมสนับสนุนธนาคารขยะชุมชน
ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุนจำนวน 701 ครัวเรือน จาก 1,210 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 57.94 % โครงการส่งเสริมสนับสนุนธนาคารขยะองค์การบริหารส่วนตำบลโพนแพง เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2564 โดยแต่ละกองทุนในพื้นที่ตำบลโพนแพง เริ่มดำเนินการชื้อขายขยะรีไซเคิล ตั้งแต่ เดือน มีนาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน รวม 2 ปี 6 เดือน มียอดการชื้อขายขยะในกองทุน รวมเงินจำนวน 1,046,661,.93 บาทหลังจากนั้นคณะ อบต.โนนสะอาด ได้ลงพื้นที่หมู่ที่ 8 บ้านเปงจาน เพื่อดูการคัดแยกขยะและการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่และกรรมการธนาคารขยะในชุมชนตำบลโพนแพง ซึ่งถือว่า การจัดการขยะได้ดีนับเป็นต้นแบบในการจัดการขยะ ให้อีกหลายหน่วยงานได้เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อนำไปปรับใช้กับหน่วยงานของตนเอง
หากทุกครัวเรือนในชุมชนหรือทุกหลังคาเรือนในประเทศไทย มีการคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่องและถูกวิธีจะทำให้ประเทศไทยเป็นเมืองที่ปลอดขยะได้ และมีสิ่งแวดล้อมที่ดีสวยงาม ทรัพยากรธรรมชาติเกิดความปลอดภัย หากทุกครัวเรือนช่วยกันคัดแยกขยะในครัวเรือนได้ ทำให้แต่ละครัวเรือนมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะขาย และลดปริมาณขยะในครัวเรือน หากเราเริ่มจากจุดเล็กๆ ในครัวเรือน ก็จะสามารถช่วยกันคัดแยกขยะ และลดปริมาณขยะในระดับประเทศได้-นายพันธลภ แสงทอง-โภควินร์ นันทจันทร์ จังหวัดหนองคายn>{Fullwidth}